welcome to blog

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ
การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการสืบค้น  ค้นหาถึงข้อมูล
วัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ
1.เพื่อทราบถึงรายละเอียดของข้อมูล
2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการศึกษาหรือการทำงาน
3.เพื่อสร้างการเรียนรู้กับตนเองและผู้อื่นได้
4.เพื่อตรวจสอบข้อมูล
5.เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
Search Engine
Search Engine   หมายถึง   เครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต   จากแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆในระบบเครือข่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ
Search Engine   คือ   โปรแกรมที่ออกแบบมาเป็นเครื่องมือ สำหรับใช้ค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ต่างๆๆ
ประเภทของ   Search Engine
Search Engine   แบ่งออหกเป็น   3   ประเภท   ดังนี้
1.อินเด็กเซอร์   ( Indexers )   การทำงานของ  Search  Engine   แบบอินเด็กเซอร์   จะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่อยู่กระจัดกระจายบนอินเทอร์เน็ต  ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับชั้นเชิง
2.ไดเร็กทอรี่   ( Directories )   การสืบค้นข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการสืบค้นข้อมูลโดยใช้อินเด็กเซอร์ ( Indexers )  โดยข้อมูลต่างๆจะถูกคัดแยกออกมาเป็นหมวดหมู่และจัดแบ่งแยกเว็บไซต์ต่างๆ ออกเป็นประเภท
3.เมตะเสิรช์  ( Metasearch )   จะใช้หลายๆวิธีการนำมาช่วยในการสืบค้นข้อมูล   โดยจะรับคำสั่งค้นหาจากเราแล้วส่งต่อไปยังเว็บไซต์ที่เป็น    Search Engine   หลายๆแห่งพร้อมกัน
ประโยชน์ของ Search Engine
ใช้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้สะดวกรวดเร็ว   และถูกต้องค้นหาแบบเจาะลึกได้
เทคนิคการสืบค้นข้อมูล
1.บีบประเด็นให้แคบลง
2.ใช้คำที่ใกล้เคียงกัน
3.การใช้คำหลัก
4.หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข
5.ใช้เครื่องหมายบวกและลบช่วย
6.หลีกเลี่ยงภาษาพูด
7.ใช้ Advanced   search
การสืบค้นโดยใช้ตรรกบูลีน
(  Boolean   word   searches)
การใช้ตรรกบูลีนเป็นการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ตัวเชื่อม   ดังนี้  
And   เป็นการเชื่อมคำเพื่อจำกัดการสืบค้นให้แคบลงด้วยการวาง   And   ไว้ระหว่างคำ 2 คำ
Or   เป็นการเชิ่อมคำเพื่อขยายการค้นไปยังคำอื่นๆที่กำหนดหรือต้องผลการการค้นจากคำทั้ง 2 คำเช่นกัน
Not   เป็นการเชื่อมคำเพื่อจำกัดการค้นให้แคบลง   โดยแจ้งให้ระบบทราบว่าไม่ต้องการคำที่อยู่ตามหลัง

  



 

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
1.รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกได้ตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 แบบดังต่อไปนี้คือ
          1.1
เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดิทัศน์, เครื่องเอ็กซเรย์
          1.2
เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม
          1.3
เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์
          1.4
เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
          1.5
เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
          1.6
เทคโนโลยีที่ใช้ถ่ายถอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่างๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และระยะไกล
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่างๆทั้งในทางธุรกิจและทางการศึกษา ดังตัวอย่างเช่น
-
ระบบเอทีเอ็ม
-
การบริการและทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต
-
การลงทะเบียนเรียน
พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
คือการแสดงออกทางความคิดและความรู้สึกในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่างๆได้แก่ ภาพ ข้อความ หรือตัวอักษร ตัวเลขและภาพเคลื่อนไหว เป็นยต้น

                                                                การใช้อินเตอร์เน็ต
                งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา พบว่า
นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง เนื่องจากเห็นว่ามีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ในขณะที่การใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่เพื่อการเรียนรู้ การติดตามข่าวสารของสถานศึกษา
ใช้อินเตอร์เน็ต ทำอะไรได้บ้าง
                งานวิจัยชี้ว่านักศึกษาใช้อินเตอร์เน็ตในการสนทนากับเพื่อนๆและการค้นหาข้อมูลจากห้องสมุด
นอกจากนี้งานวิจัยยังชี้ว่านักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประกอบการทำรายงาน
                สถานที่ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
งานวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้านและมีการใช้อินเตอร์เน็ตที่ห้องสมุดของสถาบัน

นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการใช้หรือมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อยในรูปแบบไหนบ้าง?
งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้น้อยได้แก่ ฐานข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-Learning วิดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
          1.
การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning)
เป็นการศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต (Internet หรือ อินทราเน็ต) เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสามารถและความสนใจของตนเอง โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง วีดิโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนและเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับในชั้นเรียนปกติโดยอาศัยเครื่องมือติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยสำหรับทุกคน โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ (Learning for all: anyone, anywhere and anytime)
          2.
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
CAI
คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ซึ่งนำเสนอสารสนเทศที่ได้ผ่านกระบวนการสร้างและพิจารณาเป็นอย่างดีโดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศ แบบฝึกหัด การทดสอบและการให้ข้อมูลป้อนกลับให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรียนได้ตามระดับความสามรถของตนเอง เนื้อหาวิชาที่นำเสนอจะอยู่ในรูปมัลติมีเดียซึ่งประกอบด้วยอักษร รูปภาพ เสียงหรือทั้งภาพและเสียง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการนำหลักการเบื้องต้นทางจิตวิทยาการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบ โดยอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้ (Learning Behavior)
ทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement Thoery)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขปฏิบัติ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งคือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพซึ่งอาศัยการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเองและมีผลย้อนกลับทันทีและเรียนรู้ไปทีละขั้นตอนอย่างเหมาะสมตามความต้องการและความสามารถของตน
          3.
วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand -VOD)
คือระบบการเรียกดูภาพยนตร์ตามสั่งที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูภาพยนต์หรือข้อมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้ตามต้องการ ตามสโลแกนที่ว่า
“ To view what one wants, when one wants”.
โดยสามารถใช้งานได้จากเครือข่ายสื่อสาร
(Telecommunications Networks)
ผู้ใช้งานซึ่งอยู่หน้าเครื่องลูกข่าย (Vedio Client) สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ทุกเมื่อตามความต้องการ และสามรถควบคุมข้อมูลวีดิโอนั้นๆโดยสามารถย้อนกลับ (Rewind) หรือกรอไปข้างหน้า (Forward) หรือหยุดชั่วคราว (Pause) ได้ เปรียบเสมือนการดูวีดิโอที่บ้านนั้นเองทั้งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลเดียวกัน กล่าวคือสามารถดูภาพยนตร์เรื่องเดียวกันหรือต่างกันได้
          4.
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books)
คือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านได้ทาลอินเตอร์เน็ตโดยมีเครื่องมือที่จำเป็นคือ ฮาร์ดแวร์
ส่วนการดึงข้อมูล e-Books ซึ่งจะอยู่บนเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่านก็จะใช้วิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะไฟล์ของ e-Books หากนักเขียนหรือสำนักพิมพ์ต้องการสร้าง e-Books จะสามารถเลือกได้ 4 รูปแบบคือ Hyper Text Markup Language (HTML), Portable Document Format (PDF), Peanut Markup Language (PML) และ Extensive Markup Language (XML)

          5.
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Books)
เป็นแหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
คุณลักษณะที่สำคัญของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
1.
การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์
2.
ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์
3.
บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
4.
ความสามารถในการจัดเก็บ รวบรวมและนำส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


สารสนเทศ

          สารสนเทศ   หมายถึง   ข่าวสารที่สำคัญเป็นเป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้นและจัดทำเป็นภายในองค์การต่าง ๆ ความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารขององค์การนั้น ๆ

          สารสนเทศ   ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า   Information   หมายถึง   ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศเป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์การนำไปใช้ปฏิบัติ

สารสนเทศมีความหมายตามที่ได้มีการให้คำจำกัดความที่ใกล้เคียงกันดังนี้

          สารสนเทศ   หมายถึง   ข้อมูลทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพที่ประมวลจัดหมวดหมู่เปรียบเทียบและวิเคราะห์แล้วสามารถนำไปใช้ได้หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า

เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร    …. ????

เทคโนโลยีสารสนเทศ   หรือไอที   ( IT )

เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับการเก็บ   การประมวลและการแสดงผลสารสนเทศ

องค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ   ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก   2   ส่วน   คือ   เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม

1.)    1.)เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์   จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันเนื่องจากคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งด้านการบันทึก   การจัดเก็บ   การประมวลผลและการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศ  

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยที่สำคัญได้   2   ส่วน   คือ   เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีซอฟต์แวร์

1.       เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์   หมายถึง   อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวคอมพิวเตอร์   อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเพื่อเชื่อมโยงจำแนกตามหน้าที่การทำงานออกเป็น   4   ส่วน

( 1. )   หน่วยรับข้อมูล

( 2. )   หน่วยประมวลผลกลางหรืซีพียู

( 3. )   หน่วยแสดงผลข้อมูล   ( Output   Unit )

( 4. )   หน่วยความจำสำรอง( Secondary   Storage   Unit )

 

 

2.       เทคโนโลยีซอฟต์แวร์   ( Software )

หมายถึงโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ

ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แบ่งเป็น   2   ประเภท   คือ  

1.)      ซอฟต์แวร์ระบบ   ( System   software )   หรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องมือคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทำงานตามคำสั่ง

2.)    ซอฟต์แวร์ประยุกต์   ( Application   Software )   คือ   ชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ

2.)    เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม   หมายถึง   เทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไป   เช่น   ระบบโทรศัพท์ระบบดาวเทียม   ระบบเครือข่ายเคเบิล   และระบบสื่อสารอื่น ๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

·         แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่   4   ( 2520 - 2524 )   การมีส่วนร่วมของสารสนเทศเพื่อการศึกษา

·         มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาขึ้น

·         ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่   8   ก็ได้มีการเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามากขึ้น

·         ในแผน   9   มีการจัดทำแผนหลักเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดกรศึกษา

·         แผนพัฒนา   ข้างต้นทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวงการศึกษาของประเทศไทยมากขึ้นจะทำให้การศึกษาของชาติมีความเท่าเทียมทั่วกันมีคุณภาพและมีความต่อเนื่องส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่า

·         พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ยุคที่   1   การประมวลผลข้อมูล

มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการปะมวลผลผลข้อมูลของรายการประจำ   ( Transaction   Processing )   เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

ยุคที่   2   ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ  

มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ   ควบคุมดำเนินการติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ

ยุคที่   3   การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ

มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ

ยุคที่   4    ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศมีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศและเน้นความคิดของการให้บริหารสารสนเทศและเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ซื้ออย่างมีประสิทธิภาพเป็นวัตถุประสงค์

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและกาสื่อสารเพื่อการศึกษา

1.)      ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ

2.)    ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน

3.)    ใช้ประกอบการตัดสินใจ

4.)    ใช้ในการควบคุมสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น

5.)    เพื่อใช้การบริหารงานมีระบบ

สรุป

การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษามีปริมาณที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์เทคโนโลยีสาสนเทศประเภทต่าง ๆ เช่น   ดาวเทียมสื่อสาร   ใยแก้วนำแสง   อินเทอร์เน็ต   ก่อให้เกิดระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารจัดการห้องสมุดและระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนเช่น   ระบบคอมพิวเตอร์   ช่วยสอนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษายังช่วยให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี